แนวข้อสอบปรนัย

ศาลทหาร
1.ศาลที่มีอำนาจชำระคดีอาญา อาจกล่าวได้ว่ามีเพียง ศาลยุติธรรมและศาลทหาร
2.หลักที่ใช้ในการพพิจารณาว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารหรือศาลยุติธรรม คือ ขณะกระทำความผิดอาญาเป็นบุคคลที่อยู่อำนาจศาลทหาร ขณะฟ้องเป็นทหารหรือไม่ก็ได้
3.วิธีพิจารณาความอาญาในศาลทหารใช้หลักวิธีพิจารณาความดังนี้
- ใช้กฎหมาย กฎ และข้อบังคับทหาร บังคับก่อน หากไม่มีใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามลำดับ(ม.45 ถือเป็นหัวใจสำคัญ)
4.กฎหมายหลักที่ใช้ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับศาลทหาร คือ พรบ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 และเรื่องของเขตอำนาจนั้นจะปรากฏใน พรฎ.กำหนดเขตอำนาจศาลจังหวัดทหารและศาลมณฑลทหาร พ.ศ.2533
5.ศาลทหารแบ่งได้เป็น 3 ชั้นได้แก่
- ศาลทหารชั้นต้น มี 4 ประเภท คือ ศาลจังหวัดทหาร ศาลมณฑลทหาร ศาลทหารกรุงเทพ ศาลประจำหน่วยทหาร
- ศาลทหารกลาง หมายถึง ศาลทหารชั้นอุทธรณ์
- ศาลทหารสูงสุด หมายถึง ศาลทหารชั้นฎีกา
6.ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีดังต่อไปนี้
- พิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดอาญาซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำความผิด
- พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา เฉพาะที่ ผู้เสียหายเป็นส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐและต้องมีการลงโทษในทางอาญาอันเกิดจากการกระทำโดยเจตนาเท่านั้น
- สั่งลงโทษบุคคลใดๆที่กระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
7.คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร คือ
1.คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำผิดด้วยกัน(ทั้งกรณีกระทำโดยเจตนาและประมาท)
2.คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
3.คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน
4.คดีที่ศาลทหารเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารให้ดำเนินคดีในศาลพลเรือน เมื่อศาลพลเรือนประทับรับฟ้องไว้แล้วแม้จะปรากฎตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารก็ให้ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
8.บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารคือ
1.นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ(ตั้งแต่ร้อยตรีขึ้นไป)
2.นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการเฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร เช่น คำสั่งเรียกพล (ทหารชั้นประทวนไม่มาตามหมายเรียกพลต้องขึ้นศาลยุติธรรม)
3.นายทหารชั้นประทวนและพลทหารกองประจำการหรือประจำการหรือบุคคลที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
4.นักเรียนทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
5.ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้รับตัวไว้เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร
6.พลเรือนที่สังกัดอยู่ในราชการทหาร มี 2 กรณี
-เมื่อกระทำความผิดในหน้าที่ราชการทหาร(แม้นอกบริเวณสถานที่ของทหาร)
-กระทำผิดอย่างอื่นเฉพาะหรือในบริเวณ อาคาร ที่ตั้งหน่วยทหาร ที่พักร้อน พักแรม เรอ อากาศยานหรือยานพาหนะใดๆในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร(ไม่จำเป็นต้องเป็นสถานที่ในสังกัดของตัวเอง
7.บุคคลซึ่งต้องขังหรืออยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย
8.เชลยศึก หรือ ชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
9.ศาลจังหวัดทหาร
มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย ภายในเขตพื้นที่จังหวัดทหารของตนเว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นสัญญาบัตร(ถ้าชั้นสัญญาบัตรต้องขึ้นศาลมณฑล)
คดีที่กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษอย่างต่ำหรือกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินกำหนดนี้ ถ้าศาลจังหวัดทหารเห็นควรยกฟ้องโจทก์หรือเห็นควรลงโทษจำเลยแต่ละกระทงจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินกำหนดนี้ก็ให้พิพากษาได้(ถ้าโทษอย่างใดอย่างหนึ่งเกินพิพากษาไม่ได้)
คดีที่ศาลจังหวัดทหารไม่มีอำนาจพิพากษาให้ศาลจังหวัดทหารทำความเห็นส่งสำนวนไปให้ศาลมณฑลทหารหรือศาลทหารกรุงเทพพิพากษาแล้วแต่กรณี
การพิจารณาว่าฟ้องที่ศาลจังหวัดไหนใช้หลักมูลคดีเกิด
10.ศาลมณฑลทหาร
มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมายภายในเขตพื้นที่มณฑลทหารของตนเว้นแต่คดีที่จำเลยมียศทหารชั้นนายพล(นายพลขึ้นศาลทหารกรุงเทพ)(ท่องจำ ประทวนจังหวัด สัญญาบัตรมณฑล นายพลกรุงเทพ)
11.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
มีอำนาจสั่งให้ตุลาการพระธรรมนูญ 1 นายไปนั่งพิจารณาร่วมกับตุลาการศาลจังหวัดทหารอีก 2 นายเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษา ในกรณีเช่นนี้ให้ศาลจังหวัดทหารมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลมณฑลทหาร
12.ศาลทหารกรุงเทพ
มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารโดยไม่จำกัดชั้นยศและจำกัดพื้นที่เช่นกระทำความผิดนอกราชอาณาจักร แต่ถ้ากระทำความผิดในท้องถิ่นซึ่งมีศาลทหารก็จะพิจารณาพิพากษาในศาลทหารท้องถิ่นนั้น
13.ในขณะที่มีการรบหรือศึกสงครามอาจมีศาลอาญาศึก
14.ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ
เช่นมีการรบ มีสถานการณ์สงครามมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก คดีต้องห้าม อุทธรณ์ ฎีกา
15.ศาลทหารมีอำนาจส่งประเด็นให้ศาลทหารแห่งอื่นหรือศาลพลเรือนสืบพยานและให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจหน้าที่ดังศาลเดิมและให้มีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้
16.ศาลทหารในเวลาปกติและศาลทหารในเวลาไม่ปกติให้จำเลยแต่งทนายได้(มีทนายขอแรง)แต่ศาลอาญาศึกห้ามแต่งทนาย
17.การพิจารณาและการสืบพยานศาลทหารถ้าจำเลยให้การรับสารภาพหรือไม่ติดใจฟังจะไม่ทำต่อหน้าจำเลยนั้นก็ได้
18.ผู้มีอำนาจสั่งลงโทษตามคำพิพากษา คือ
1.นายทหารผู้บังคับบัญชาจำเลยซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้นนายพลขึ้นไปเป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดทหาร ศาลมณฑลทหารหรือศาลทหารกรุงเทพ
2.ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลทหารชั้นต้นเป็นผู้มีอำนาจสั่งลงทษในกรณีที่จำเลยอยู่ต่งท้องถิ่นกับผู้บังคับบัญชาหรือไม่อยู่ใต้บังคับบัญชาของทหาร
3.ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาลประจำหน่วยทหารหรือศาลอาญาศึกเป็นผู้มีอำนาจสั่งลงโทษตามคำพิพากษาของศาลนั้นๆ
19.เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวน
นายทหารพระธรรมนูญ มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน,ที่ปรึกษากฎหมาย,ตรวจร่างสัญญาต่างๆ,เสนอความเห็นกฎหมาย
อัยการทหาร ทำหน้าที่ตรวจสอบสำนวน , เสนอสั่งคดีนอกจากนี้ยังสอบสวนเองได้ด้วย
20.อำนาจสอบสวนของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร มีดังนี้
คดีอยู่ในเขตอำนาจศาลทหาร แต่คดีที่อยู่ในอำนาจของ ปปช.หรือคดีพิเศษ (dsi)กรณีนี้ไม่มีอำนาจ
ผู้กระทำผิดและผู้เสียหายเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร
วินัยทหาร
คดีที่เกี่ยวกับความลับของทางราชการ
21.ศาลทหารในเวลาปกติให้อัยการศาลทหารหรือผู้เสียหายซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาแต่ถ้าผู้เสียหายมิได้เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารแล้วต้องมอบคดีให้อัยการทหารเป็นโจทก์
22.การอุทธรณ์ ฎีกา
ภายใน 15 วัน การสั่งลงโทษ ภายใน 30 วัน

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต่อไปนี้จะใช้คำว่าศาล ไอพี แทนคำว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
1.ศาลไอพี เกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ซึ่งไทยต้องเข้าไปเป็นสมาชิกของ WTO
และมีพันธะกรณีที่จะต้องมีระบบศาลที่คุ้มครองเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา+การค้าระหว่างประเทศ ประเทศไทยจึงตั้งศาล พี ขึ้นเพราะถ้าจะเปลี่ยนระบบศาลทั้งหมดก็ยุ่งยากเกินไป
2.อาจารย์บรรยายแบ่งการค้าออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1.การซื้อขายสินค้าในสิ่งที่จับต้องได้
2.การซื้อขายบริการ การให้คำปรึกษา
3.การซื้อขายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ซอฟต์แวร์ ยา
3.องค์คณะมี 3 ท่านได้แก่
ผู้พิพากษาอาชีพ 2 ท่าน
ผู้พิพากษาสมทบ 1 ท่าน ซึ่งคัดมาจากคนที่มีความรู้ที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลมีวาระคราวละ 5 ปี
แต่ละท่านมีคะแนนเสียงเท่ากัน
4.คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
(ปัจจุบันมีศาลเดียวคือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร ได้แก่
คดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เช่นคดีอาญาเรื่องปลอมเครื่องหมายการค้า ตาม ปอ.273 , ข้อพิพาทเกี่ยวกับการให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า
คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขายระหว่างประเทศแลกเปลี่ยนสินค้าหรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกเกี่ยวเนื่องกับการซื้อขายระหว่างประเทศ เช่น การรับขนทางทะเล การประกันภัยทางทะเล การชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ
คดีแพ่งเกี่ยวกับการกักเรือ(ศาลสามารถกักเรือได้โดยยังไม่ต้องมีการฟ้องคดีเพียงแต่ผู้เสียหายทำคำร้องฝ่ายเดียว และศาลไต่สวนฝ่ายเดียวแล้วเห็นว่าคดีมีมูลก็กักเรือได้ แต่ต้องวางเงินประกันค่าเสียหายเพราะถ้าจำเลยไม่ผิดจำเลยย่อมสูญเสียรายได้เนื่องจากเรือถูกกัก)
คดีแพ่งเกี่ยวกับการทุ่มตลาดและการอุดหนุนสินค้าหรือการให้บริการจากต่างประเทศที่เข้ามาตีตลาดภายในประเทศ(เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขันกับสินค้าไทย)
คดีอนุญาโตตุลาการเพื่อระงับข้อพิพาทดังที่กล่าวมาแล้วในทุกข้อข้างต้น
5.ถ้าคดีมีปัญหาว่าเป็นคดีของศาล ไอพี หรือไม่ ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้ชี้ขาด และคำสั่งให้เป็นที่สุด
6.วิธีพิจารณาคดีนั้น อธิบดีศาล ไอพี โดยการอนุมัติของประธานศาลฎีกามีอำนาจออกข้อกำหนดการพิจารณาคดีเองได้
7.การสืบพยานมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
การเสนอบันทึกถ้อยคำพยาน แทนการให้พยานบุคคลมาเบิกความในศาลจะทำได้ก็ต่อเมื่อยื่นคำร้องต่อศาลและศาลอนุญาต อย่างไรก็ตามบันทึกถ้อยคำพยานใช้แทนได้เฉพาะการซักถามเท่านั้น ผู้ให้ถ้อยคำจะต้องมาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและถามติงด้วย แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่ติดใจถามค้านก็ไม่ต้องมาก็ได้
การสืบพยานโดยใช้วิดีโอจอภาพ โดยคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและไม่ถือว่าค่าใช้จ่ายนี้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมที่ฝ่ายแพ้คดีต้องจ่ายแต่อย่างใด
ในกรณีที่เอกสารที่ส่งต่อศาลนั้นทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ คู่ความอาจทำความตกลงไม่ต้องแปลทั้งฉบับหรือแปลเพียงบางส่วนก็ได้นอกจากนี้แม้คู่ความมิได้ตกลงกันหากศาลเห็นว่าเอกสารนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานในประเด็นหลักของคดีศาลอาจอนุญาตให้ส่งเอกสารโดยม่ต้องแปลก็ได้
อนึ่ง ถ้าเอกสารนั้นเป็นภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ต้องทำคำแปลเสมอ
8.การขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้อง
ในกรณีที่เห็นว่าบุคคลใดจะกระทำการละเมิดเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ หรือ สิทธิบัตร หรือ เครื่องหมายการค้า โดจทก์อาจยื่นคำขอโดยบรรยายข้อเท็จจริงแสดงให้ศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะฟ้องบุคคลอื่นเป็นจำเลยและมีเหตุเพียงพอที่จะทำให้เชื่อว่าศาลควรมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอนอกจากนี้โจทก์ต้องทำบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของผู้รู้เห็นเหตุประกอบไปกับคำขอเพื่อสนับสนุนข้ออ้างด้วย
ก่อนศาลจะสั่งให้มีการคุ้มครองศาลจะสั่งให้ผู้ขอวางเงินประกันค่าเสียหายก่อนและนอกจากนี้ผู้ขอต้องฟ้องคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด มิเช่นนั้นการคุ้มครองชั่วคราวนั้นจะสิ้นผลไปทันทีที่ครบกำหนดดังกล่าว
ข้อแตกต่างอย่างชัดเจนของกฎหมายวิธีพิจารณาในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ กับ ศาลแพ่ง คือ การคุ้มครองชั่วคราวก่อนฟ้องนี่เอง
9.การนั่งพิจารณาคดีต่อเนื่อง
ม.27 พรบ.จัดตั้งฯบัญญัติให้ศาลนั่งพิจารณาคดีต่อเนื่องกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่ มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วง
10.วันกำหนดแนวทางในการดำเนินคดี
ก่อนมีการสืบพยาน ศาลอาจสั่งให้คู้ความทุกฝ่ายมาศาลเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินคดีได้ แต่ถ้าฝ่ายใดไม่มา กฎหมายให้ถือว่าทราบวันนัดสืบพยานแล้ว(อาจเรียกว่าเป็นวันที่แทนวันชี้สองสถานก็ได้)
วันกำหนดแนวทางในการดำเนินคดีจะเกิดเหตุการณ์ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.ไกล่เกลี่ยเพื่อให้เกิดการประนีประนอมยอมความหรือนำวิธีทางอนุญาโตตุลาการมาใช้
2.กำหนดระยะเวลาทั้งหมดในการดำเนินคดีและขั้นตอนในการดำเนินคดี
3.กำหนดรายละเอียดและเวลาเกี่ยวกับการทดลองทางเทคนิคหรือวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดี
4.กำหนดตัวผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ
11.การขยายหรือย่นระยะเวลา
หากศาลเห็นสมควรเองหรือคู่ความร้องขอศาลมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องมีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
12.การขอให้ศาลสืบพยานหลักฐานไว้ก่อน
แม้จะยังไม่มีการฟ้องคดีคู่ความก็อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสืบพยานหลักฐานไว้ก่อนก็ได้(แม้ได้ฟ้องคดีไว้แล้วจะลัดคิวสืบไว้ก่อนก็ได้)ถ้าเกรง่วาพยานหลักฐานนั้นจะสูญหายหรือยากแก่การนำสืบในภายหลัง
นอกจากนี้ผู้ขอยังสามารถให้เอกชนเข้าไปในเคหะสถานของคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อไปเอาหลักฐานมาได้แต่ต้องมีการวางเงินประกันความเสียหาย
13.การแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ศาลอาจสั่งให้คู่ความที่ดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือผิดหลง ทำการแก้ไขกระบวนพิจารณานั้นให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เว้นแต่ข้อที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงนั้นเกิดจากความจงใจหรือเพิกเฉยของคู่ความฝ่ายนั้นอันเป็นการเอาเปรียบคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง
อนึ่งการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่นำไปใช้ในคดีอาญา
14.การดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามที่คู่ความตกลงกัน
คู่ความอาจตกลงกันยื่นคำร้องศาลขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามที่คู่ความตกลงกันได้ซึ่งศาลจะสั่งอนุญาตถ้าศาลเห็นสมควรเพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็วเว้นแต่กระบวนพิจารณาดังกล่าวจะไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
15.ข้อต่อสู้ใดในคดีของศาลทรัพย์สินฯมีน้ำหนักแก่คดีน้อยที่สุด
ต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุม ทำให้จำเลยอ่านไม่เข้าใจฟ้องไม่อาจให้การได้ชัดแจ้ง เพราะศาลจะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องอยู่ดี(ศาลจะไม่ยกฟ้องเพราะมีข้อกำหนด 6 ข้อ กำหนดไว้)
16.การพิจารณาลับ
เมื่อคู่ความมีคำขอหรือศาลเห็นเองว่าไม่สมควรที่จะให้มีการเปิดเผยข้อเท็จจริงต่างๆทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในคดี ศาลอาจมีคำสั่งดังต่อไปนี้
1.ห้ามประชาชนเข้าฟังการพิจารณาและดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่เปิดเผย
2.ห้ามมิให้โฆษณาข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ต่างๆเช่นว่านั้น
17.การทบทวนความจำพยาน
พยานสามารถจดบันทึกทบทวนความจำ(reflex memory)ประกอบคำเบิกความได้
18.การรับฟังพยานบอกเล่าในคดีทรัพย์สินฯและการค้าฯนั้นศาลจะรับฟังพยานบอกเล่าเป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่เพียงใด
รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ เมื่อศาลเห็นสมควรว่าตามสภาพ ลักษณะ แหล่งที่มาและข้อเท็จจริงแวดล้อมการบอกเล่า พยานบอกเล่านั้นมีความน่าเชื่อถือได้ว่าจะพิสูจน์ความจริงได้
รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุจำเป็น เนื่องจากไม่สามารถนำบุคคลซึ่งเป็นผู้ได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้น มาด้วยตนเองโดยตรงมาเบิกความเป็นพยานได้ และมีเหตุผลสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะรับฟังพยานบอกเล่านั้น
19.การอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง
ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาในศาลทรัพย์สินฯในการไต่สวนมูลฟ้องหรือการพิจารณาคดีโจทก์ต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลเมื่อใด
ก่อนวันนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน
ถ้าท่านรับว่าความให้ลูกความในคดีที่จะยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินฯสิ่งแรกที่ควรทำคืออะไร
ตรวจดูว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่
ในการดำเนินคดีลิขสิทธิ์คดีหนึ่งที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าฯ ผู้อ้างพยานที่เป็นบุคคลต่างชาติ สามารถที่จะทำการสืบพยานดังกล่าวได้อย่างไร
นำพยานปากนั้นมาสืบต่อศาลในวันนัดสืบพยาน
ส่งบันทึกถ้อยคำพยานปากนั้นต่อคู่ความฝ่ายหนึ่งและศาลโดยไม่ต้องนำพยานดังกล่าวมาศาลเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งถามค้าน ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ติดใจถามค้าน
ทำการสืบพยานโดยผ่านการประชุมทางจอภาพ (Video Conference)

ศาลปกครอง
ข้อสอบเก่า
การควบคุมการใช้อำนาจขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหารนั้น อาจจำแนกได้ 2 วิธีคือ
1.การจำแนกประเภทตามระยะเวลาซึ่งแยกย่อยได้เป็น
การควบคุมก่อนการดำเนินการ
การควบคุมหลังการดำเนินการ
2.การจะแนกประภทตามอง๕กรซึ่งแยกย่อยได้เป็น
การควบคุมองค์กรภายใน
การควบคุมองค์กรภายนอก
-คำว่าคู่กรณีตามความหมายของ พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองหมายความว่าผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดี
-การฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้ศาลสั่งให้ใช้เงินต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 2.5
-การยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองไม่จำเป็นต้องจัดทำเป็นแบบคำฟ้อง
-การพิจารณาคดีปกครองของศาลปกครองใช้แบบลายลักษณ์อักษร
-กรณีที่ผู้ได้รับความเสียหายไม่ได้ฟ้องคดีเอง ผู้มีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลปกครองได้ซึ่งมีสิทธิเสมือนผู้ฟ้องคดี คือ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
-ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดต่อผู้เสียหาย พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 บัญญัติไว้ว่า
หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐได้โดยตรงแต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
การฟ้องคดีปกครองที่เกี่ยวกับการทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ต้องฟ้องต่อศาลปกครองเสมอไป
-ตามที่มีการกล่าวว่า พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539เป็น กฎหมยกลางนั้น หมายความว่า
เรื่องใดที่เข้าข่ายเป็นวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่างๆก็จะต้องปฏิบัติตาม พรบ.วิฯปฏิบัติ เว้นแต่กฎหมายนั้นๆจะได้วางข้อกำหนดไว้โดยเฉพาะ แต่ข้อกำหนดดังกล่าวจะต้องมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมและมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พรบ.วิฯปฏิบัติ
-ในศาลปกครองทนายความสามารถดำเนินคดีได้ในฐานะผู้รับมอบอำนาจ
-คดีพิพาทเรื่องใดที่ศาลปกครองไม่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง
คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐอันมิใช่เกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น
-คำสั่งคณะกรรมการมรรยาทที่สั่งลงโทษทนายความ อยู่ในอำนาจศาลปกครองเพราะสภาทนายความเป็นองค์กรที่ได้รับมอบให้ใชอำนาจทางปกครอง
-สัญญาทางปกครองอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นและมีลักษณะสำคัญๆดังนี้
เป็นสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับเอกชน
มีลักษณะเป็นสัญญาสัมปทาน
มีลักษณะเป็นสัญญาที่ให้บริการสาธารณะ
-การฟ้องคดีปกครองประเภทใดที่ไม่มีกำหนดอายุความ
ประเภทเกี่ยวกับสัญชาติของบุคคลหรือสถานะของบุคคล
-การฟ้องคดีเกี่ยงกับการทำละเมิดทางปกครอง มีกำหนดอายุความ 1 ปี
-การฟ้องคดีเกี่ยวกับการเพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองมีกำหนดอายุความ 90 วัน
-ลักษณะพิเศษของวิธีพิจารณาคดีปกครองได้แก่
เป็นระบบไต่สวน
ใช้เอกสารเป็นหลัก
มีการถ่วงดุลองค์คณะโดยตุลาการผู้แถลงคดี
-องค์คณะพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น มีจำนวน 3 คน

ศาลล้มละลายกลาง
คดีล้มละลาย

1.ผู้มีสิทธิดำเนินคดีล้มละลายได้แก่
เจ้าหนี้ ไม่ว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน หรือเจ้าหนี้ไม่มีประกันก็ตาม
ผู้ชำระบัญชี
บริษัทสินทรัพย์ไทย(เป็นกฎหมายใหม่)
2.ศาลที่รับฟ้องได้คือ ศาลแพ่ง ศาลจังหวัด ศาลล้มละลายกลาง ศาลแขวงไม่มีอำนาจ
3.ค่ฤชาธรรมเนียมในคดีล้มละลาย ทำคำฟ้อง(หรืออาจเป็นคำร้องในกรณีของผู้ชำระบัญชี 500 บาท+ค่าใช้จ่ายอีก 5,000 บาท ค่ายื่นคำร้องขอชำระหนี้ 200 บาท
4.หลักเกณฑ์ในการฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย
1.ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
2.ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนก็ได้และมูลหนี้จะเกี่ยวพันกันหรือไม่ก็ได้ โดย
2.1เป็นหนี้ไม่น้อยกว่า หนึ่งล้านบาทในกรณีบุคคลธรรมดา
2.2เป็นหนี้ไม่น้อยกว่าสองล้านบาท ในกรณีลูกหนี้เป็นนิติบุคคล
3.เป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
5.แนวทางในการเขียนคำฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลาย คื บรรยายฐานะ,นิติสัมพันธ์,มูลเหตุในการนำคดีมาฟ้อง,ความประสงค์ของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ = พิทักษ์ทรัพย์+ตั้ง จพท.+พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย
6.การพิจารณาคดีในศาลล้มละลาย
โจทก์สืบก่อน จำเลยสืบหักล้าง
สืบพยานด้วย vedio confenceได้
ขอสืบพยานไว้ก่อนได้
ส่งบันทึกถ้อยคำพยานได้
การบันทึกถ้อยคำพยานโดยใช้ vediotape ได้ (เหมือนศาลรัฐธรรมนูญ)
7.ในคดีล้มละลายหลังจากสืบพยานเจ้าหนี้และลูกหนี้เสร็จแล้ว หากศาลเชื่อว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงและไม่มีเหตุอื่นที่ลูกหนี้ไม่สมควรล้มละลาย ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้และแต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์วางเงินประกันค่าใช้จ่าย ,ช่วย จพท.ในการสืบหาทรัพย์
8.เมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องทำการประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ(และในราชกิจจานุเบกษา)เจ้าหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้(หนี้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด)จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามา ภายในระยะเวลา 2 เดือนนับแต่มีประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ซึ่งให้นับเอาการประกาศครั้งหลังเมื่อมีการประกาศราชกิจจานุเบกษาและการประกาศในหนังสือพิมพ์ หากเป็นการประกาศในโฆษณาในราชกิจจานุเบกษาให้นับเอาวันที่มีการส่งให้สมาชิกในวันแรกจริงๆงฃแล้วก็นับไป 2 เดือน
อนึ่งเจ้าหนี้ที่เป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติที่อยู่นอกราชอาณาจักรในขณะที่มีการประกาศโฆษณาคำสั่งพิททักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด อาจร้องขอให้พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขยายเวลาที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้อีกไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 เดือน นับแต่วันโฆษณา
9.การปลดจากการล้มละลายโดยผลของกฎหมาย
ลูกหนี้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งโดยหลักจะใช้กำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาให้ล้มละลาย
ใช้กับบุคคลธรรมดาเท่านั้น
ปลดจากการล้มละลายทันที โดยไม่ต้องรอให้ศาลมีคำสั่ง
ข้อยกเว้น ถ้าเคยล้มละลายมาแล้ว ใช้เวลา 5 ปี หรือ ถ้าเป็นบุคคลล้มละลายทุจริตจะไม่ได้รับการปลดจากล้มละลาย

คดีฟื้นฟูกิจการ
1.ศาลที่รับคำร้องขอได้ คือ ศาลแพ่ง ศาลจังหวัด ศาลล้มละลายกลาง ศาลแขวงไม่มีอำนาจ
2.ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีฟื้นฟู ค่าคำร้องขอ 1,000 บาท + ค่าใช้จ่ายอีก 50,000 บาทค่ายื่นคำร้องขอชำระหนี้ 200 บาท
3.ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้แก่
เจ้าหนี้ซึ่งอาจเป็นคนเดียวหรือหลายคนรวมกันและมีจำนวนหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
ลูกหนี้ซึ่งเป็นหนี้เจ้าหนี้รายเดียวหรือหลายราย รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาทและต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้น
ธนาคารแห่งประเทศไทยในกรณีที่ลูกหนี้เป็นธนาคารพาณิชย์บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นบริษัทหลักทรัพย์
กรมการประกันภัย ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นบริษัทประกันวินาศภัยหรือบริษัทประกันชีวิต
4.แนวทางในการเขียนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ
สถานะผู้ร้อง/ลูกหนี้ , นิติสัมพันธ์ , ความมีหนี้สินล้นพ้นตัว , ที่อยู่และรายชื่อของเจ้าหนี้ (ถ้าเจ้าหนี้เป็นผู้ร้องให้ส่งรายชื่อเท่าที่รู้/ถ้าลูกหนี้ยื่นให้ระบุเจ้าหนี้ทุกคน) ชื่อและหนังสือยินยอมของผู้ทำแผน , ช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ , เหตุสมควรในการฟื้นฟูกิจการ แต่ไม่ต้องยื่นแผนฟื้นฟูกิจการ เพราะเป็นความรับผิดชอบของผู้ทำแผน ไม่ใช่ผู้ร้อง
5.การตั้งผู้ทำแผน หากไม่มีใครค้านศาลตั้งได้เลย , ถ้ามีการค้าน ให้ จพท.นัดประชุมเจ้าหนี้
6.การขอรับชำระหนี้ต้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดก่อนวันที่ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และยื่นคำร้องต่อ จพท.ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่โฆษณาคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษา
7.หนี้ที่ไม่ต้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ ก็สามารถได้รับการชำระหนี้
หนี้ภาษีอากร , หนี้ซึ่งผู้ทำแผนก่อขึ้น , หนี้ที่เกิดจากการทำแผน
8.การจัดทำฟื้นฟูกิจการต้องทำให้เสร็จภายใน 3 เดือน นับแต่วันทีโฆษณาคำสั่งแต่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษา ขยายได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 เดือน
9.มติยอมรับแผนต้องเป็นมติพิเศษของ
1.ที่ประชุมเจ้าหนี้แต่ละกลุ่มทุกกลุ่มหรือ
2.ที่ประชุมเจ้าหนี้อย่างน้อยหนึ่งกลุ่ม ซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ตามมาตรา 90/46 ทวิ และเมื่อนับรวมจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผนในที่ประชุมเจ้าหนี้ทุกกลุ่มแล้ว มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 แห่งจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น
ในการนับจำนวนหนี้ ให้ถือว่าเจ้าหนี้ตามมาตรา 90/46 ทวิ ได้มาปรัชุมและได้ออกเสียงลงคะแนนในมติยอมรับแผนนั้นด้วย
10.การยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ
การฟื้นฟูกิจการเป็นผลสำเร็จ
ครบกำหนดเวลาตามแผนแต่ฟื้นฟูไม่สำเร็จ
ข้อสอบเก่า
-สิ่งที่ทนายจำเลยในคดีล้มละลายต้องทำก่อนวันสืบพยานคือ ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาล , ยื่นคำร้องขอหมายเรียกเอกสารเพื่อนำมาใช้ประกอบการซักค้านพยานโจทก์แต่ไม่ต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีก็ได้
-มติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย หมายถึง มติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจำนวนหนี้ 3 ใน 4 ของเจ้าหนี้ที่ได้เข้าประชุมและออกเสียงลงมติ
-เมื่อศาลล้มลายมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว หากลูกหนี้ผู้เป็นจำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาล การอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นมีผลอย่างไร = ไม่มีผลต่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แต่อย่างใด จพท.แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้
-หากท่านได้รับแต่งตั้งเป็นทนายความเจ้าหนี้เพื่อคัดค้านการขอฟื้นฟูกิจการที่ลูกหนี้ยื่นต่อศาลก่อนวันนัดไต่สวนคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ท่านจะต้องดำเนินการอย่างไร = ยื่นคำคัดค้านการร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลไม่น้อยกว่า 3 วันก่อนวันนัดไต่สวนคำร้อง
-เจ้าหนี้ที่มีมูลแห่งหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ฟื้นฟูกิจการจะต้องดำเนินการอย่างไร = ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อ จพท.ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน
-ในคดีฟื้นฟูกิจการเมื่อผู้ทำแผนทำแผนฟื้นฟูกิจการเสร็จแล้วจะต้องยื่นส่งแผนต่อใคร = จพท.
-ในคดีฟื้นฟูกิจการผู้บริหารแผนมีหน่ที่ต้องรายงานการปฏิบัติตามแผนต่อใคร ภายในเวลาเท่าใด = จพท.ทุก 3 เดือนและ จพท.จะรายงานผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารแผนให้ศาลทราบ
-เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับแผนและแต่งตั้งผู้บริหารแผนแล้ว เหตุการณ์ใดต่อไปนี้ที่ศาลไม่มีอำนาจกระทำได้ = เมื่อศาลมีคำสั่งให้ถอดถอนผู้บริหารแผนเดิม ศาลมีสิทธิแต่งตั้งผู้บริหารแผนคนอื่นที่ไม่ใช่ผู้บริหารแผนที่ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติแต่งตั้งแล้วแต่อำนาจที่กระทำได้แก่
ถอดถอนผู้บริหารแผน หากพบว่าผู้บริหารแผนก่อให่เกิดความเสียหายต่อบริษัทลูกหนี้
เมื่อศาลมีคำสั่งให้ถอดถอนผู้บริหารแผนเดิมศาลมีสิทธแต่งตั้งผู้บริหารแผนชั่วคราวไว้ก่อนแม้เจ้าหนี้ส่วนใหญจะไม่เห็นชอบด้วยกับการแต่งตั้งผู้บริหารแผนชั่วคราวคนนั้นก็ตาม
เมื่อศาลมีคำสั่งให้ถอดถอนผู้บริหารแผนเดิม แต่ถ้าที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่สามารถมีมติแต่งตั้งผู้บริหารแผนคนใหม่ได้แม้จะมีการประชุมเจ้าหนี้มาแล้ว 2 ครั้งก็ตาม ศาลมีสิทธิแต่งตั้งผู้บริหารแผนได้
-คู่ความสามารถนำสืบพยานชาวต่างชาติได้โดยผ่านการประชุมทางจอภาพได้ ในการสอบสวน คำขอรับชำระหนี้ ในคดีฟื้นฟูกิจการ
-ศาลล้มละลายกลางมีอำนาจในการพิจารณารับฟ้องคดีล้มละลายทั่วราชอาณาจักร
-ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง จพท. ได้แก่ รมว.กระทรวงยุติธรรม
-เจ้าหนี้กลุ่มใดที่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องแยกเป็นกลุ่มพิเศษ = เจ้าหนี้ต่างประเทศ
-ในคดีล้มละลายหากท่านเป็นทนายเจ้าหนี้ท่านจะดำเนินการอย่างไรที่ถือว่าง่ายที่สุดก่อนฟ้องคดี = ออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังลูกหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง มีระยะห่างไม่น้อยกว่า 30 วัน นับแต่วันที่ได้บอกกล่าวครั้งแรก

คดียาเสพติด1.กฎหมายยาเสพติดมีการแก้ไขลดโทษจำคุกขั้นต่ำจาก 5 ปีเป็น 4 ปี เพิ่มโทษปรับ ,บังคับให้ศาลลงโทษทั้งโทษจำคุกและปรับ ทั้งนี้เพื่อ
ลดโทษจำคุกเพราะจะได้ไม่ต้องสืบพยานประกอบในกรณีที่จำเลยรับสารภาพ(แต่ก่อนต้องนำสืบเสมอ)
เพิ่มโทษปรับเพื่อทำลายฐานะทางเศรษฐกิจของผู้กระทำผิด
2.พยานหลักฐานที่ใช้ในคดี
ข้อหาเสพ หลักฐานจะอยู่ที่ตัวผู้เสพ
ข้อหาจำหน่าย หลักฐานคือ ธนบัตรของกลาง(จะถ่ายรูปลงบันทึกประจำวันไว้) , ยาเสพติดของกลาง , เจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ , ตำรวจที่สุ่มดูการล่อซื้อ(มักเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร เพราะน่าเชื่อถือกว่าชั้นประทวนและศาลจะรับฟังพยานเพราะสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมไม่มีเรื่องโกรธเคืองกับประชาชน)
3.การต่อสู้คดีข้อหาจำหน่ายของทนายจำเลย
1.สืบหาข้อเท็จจริง สอบถามลูกความว่ากระทำความผิดจริงหรือไม่ถ้าทำก็แนะนำให้รับสารภาพโทษหนักจะได้เป็นเบา
2.ไปดูสถานที่เกิดเหตุ
3.นำสืบประวัติความประพฤติของจำเลย ว่าจำเลยไม่เคยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาก่อนรวมทั้งจำเลยมีหน้าที่การงาน
4.บทนิยามศัพท์ตามมาตรา 4 พรบ.ยาเสพติดให้โทษ 2522
ผลิตหมายถึง เพาะ ปลูก ทำผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วย
จำหน่ายหมายถึง ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้
นำเข้าหมายถึง นำหรือสั่งเข้าในราชอาณาจักร
ส่งออกหมายถึง นำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
เสพหมายถึง การรับยาเสพติดให้โทษเข้าสู่ร่างกสยไม่ว่าด้วยวิธีใด(กิน สูดดมควัน ฉีด)
หน้วยกสนใช้หมายถึง เม็ด ซอง ขวด หรือหน่วยอย่างอื่นที่ทำขึ้นซึ่งโดยปกติสำหรับการใช้เสพหนึ่งครั้ง
5.ประเภทของยาเสพติดให้โทษมี 5 ประเภทได้แก่
1.ชนิดร้ายแรงเช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยาอี ยาไอซ์
2.ชนิดทั่วไป เช่นมอร์ฟีน โคเคน ฝิ่น
3.ชนิที่มีลักษณะเป็นตำรับยาและมียาเสพติดประเภทที่ 2 ผสมอยู่ด้วยตามหลักเกณฑ์ที่ รมต.ประกาศกำหนด เช่นยาแก้ไอ
4.สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 เช่น อาเซติคแอนไฮไดด์ อาเซดิลคลอไรด์ (หัวเชื้อในการผลิตนั่นเอง)
5.ยาเสพติดที่ไม่ได้อยู่ในประเภทที่ 1-4 ข้างต้น เช่น กญชา , กระท่อม
6.ยาม้า เข้ามาในไทยเมื่อปี 2498 และเปลี่ยนชื่อเป็นยาบ้าในปี 2539
7.มาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง ตามปริมาณดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นการผลิต นำเข้า หรือ ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
1.เด็กซ์โดไลเซอร์ไยด์ หรือ แอลเอสดี มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 0.75มิลลิกรัมขึ้นไปหรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 300 มิลลิกรัมขึ้นไป
2.แอมเฟตามีน(ยาบ้า)หรืออนุพันธ์แอมเฟตามีนมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไปหรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 1.5 กรัมขึ้นไป
3.ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 นอกจาก 1 และ 2 มีปริมาณคำนวนเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 300 มิลลิกรัมขึ้นไป
8.อัตราโทษจำคุกผู้ฝ่าฝืน มาตรา 15 คือ จำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่ 1,000,000บาทถึง 5,000,000 บาท
9.การผ่อนคลายโทษ
ในกรณีที่เป็นการกระทำที่ไม่ร้ายแรงและเมื่อพิจารณาฐานะของผู้กระทำความผิดประกอบกันแล้วศาลมีดุลพินิจในการลงโทษปรับน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดก็ได้(แต่ศาลต้องลงโทษทั้งจำทั้งปรับ)
10.กฎหมายให้อำนาจตำรวจในคดียาเสพติด สามารถทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นแต่ต้องมีบัตรประจำตัว
11.การยึดทรัพย์ ริบทรัพย์
ยาเสพติดต้องริบ
เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงต้องริบ เช่น รถยนต์ที่ดัดแปลงเพื่อขนส่งยาเสพติดต้องริบ ถ้าไม่ได้ดัดแปลงริบไม่ได้
เงินที่ได้จจากการขายยาเสพติดในครั้งที่จับได้นี้สามารถยึดได้ ไม่รวมครั้งก่อน
12.การกระทำกรรมเดียว/หลายกรรม(ตามแนวฎีกา)
มี 10 เม็ด ขายไป 5 เม็ดคิดเป็น 2 กระทง
ฎ.5683/2546 จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจำนวน 10 เม็ดและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวแก่สายลับไปทั้งหมดต่อมมาเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้าตรวจค้นจับกุมจำเลยพบว่ายังมีเฮโรอีนอยู่ในครอบครองที่ตัวจำเลยอีกจำนวน 1 หลอด แสดงว่าจำเลยมีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนและเฮโรอีนดังกล่าวไว้ในลักษณะต่างกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสองกรรม
ข้อสอบเก่า-วัตถุประสงค์ของ พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 2545 ยกตัวอย่างเช่น = สร้างระบบการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดให้ครบวงจร , ให้โอกาสผู้เสพยาเสพติดที่เลิกเสพยาแล้วให้เริ่มชีวิตใหม่ในสังคม , เพื่อลดปริมาณผู้ต้องขังในเรือนจำ แต่มิใช่เพื่อให้ศาและกระทรวงสาธารณสุขร่วมกำหนดแนวทางในการบำบัดผู้ติดยาเสพติดทุกประเภท
- พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด 2545 ใช้บังคับกับความผิดฐาน = เสพยาเสพติด , เสพและมีไว้ครอบครอง , เสพและมีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย ,เสพและจำหน่ายยาเสพติด
-นักโทษในคดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ จะไม่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกออกทำงานสาธารณะนอกเรือนจำ

ศาลภาษีอากรกลาง
1.ในกรณีที่ผู้จะต้องเสียภาษี ไม่ยื่นแบบแสดงรายการหรือจ่ายภาษีไม่ชอบ(จ่ายน้อยกว่าความเป็นจริง)เจ้าพนักงานประเมินก็จะออกหมายเรียกเรียกผู้ที่จะต้องเสียภาษีมาตอบคำถามแล้วประเมินภาษี
หากไม่เห็นชอบด้วยกับการประเมินจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 30 วันที่ได้รับแจ้งผลคำวินิจฉัยอุทธรณ์(ข้อสังเกตุถ้าเป็นภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน)
2.กรณีต้องห้ามอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ได้แก่
ได้รับหมายเรียกแล้วไม่ไปให้ข้อมูล
ไปตามหมายเรียกแต่ไม่ยอมให้ความร่วมมือ(ไม่ตอบคำถาม)
อนึ่งถ้าอุทธรณ์ไม่ได้ ก็ฟ้องคดีไม่ได้
3.เงินที่ต้องจ่ายภาษีกรณีผู้จะต้องเสียภาษี ไม่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีหรือจ่ายภาษีไม่ชอบได้แก่
เบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องจ่าย (ร้อยละ 200)
เงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ
เงินภาษี(ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินออกมาว่าต้องจ่ายภาษีเท่าไร)
4.การอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นต้องยื่นคำขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากรไว้ด้วย(แม้จะไม่ต้องจ่ายภาษีไว้ก่อน แต่อย่าลืมว่าเงินเพิ่มมันคิดไปเรื่อยๆร้อยละ 1.5 ต่อเดือนเพราะเวลามันไม่หยุดเดินกล่าวคือยิ่งนานยิ่งต้องจ่ายเพิ่มขึ้นเพียงแต่การขอทุเลานั้นทำให้ไม่ต้องจ่ยเงินไปก่อนเท่านั้นเอง)
5.ในการขอทุเลาต้องมีหลักประกันซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นหนังสือค้ำประกันที่ธนาคารออกให้ตามแบบที่กรมสรรพากรกำหนด
6.ถ้าอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้สแพ้ก็ต้องฟ้องศาลซึ่งก็ต้องยื่นคำร้องขอทุเลาต่อศาลอีกครั้งหนึ่งเพราะอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรหมดแล้ว(สามารถใช้หลักประกันเดิมได้
7.คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มี 3 คน
ถ้าเป็น กทม.ได้แก่ อธิบดีกรมสรรพากร อธิบดีกรมการปกครอง ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
ถ้าเป็น ตจว. ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด สรรพากรภาค อัยการจังหวัด
8.การฟ้องให้ฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลย และถ้าเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินกลั่นแกล้งก็สามารถฟ้องเจ้าพนักงานประเมินได้ด้วย(แต่ค่อนข้างหาพยานหลักฐานได้ยาก)
อนึ่งสิทธิการฟ้องคดีนี้เป็นสิทธิของผู้จะต้องเสียภาษีเท่านั้น กรมสรรพากรไม่มีสิทธิฟ้อง แม้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไม่เป็นผลดีต่อตนก็ตาม
9.การยื่นฟ้องต่อศาลต้องทำภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งผลคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาดังกล่าวได้โดย
ยื่นคำร้องต่อศาลภาษีอากรกลาง ก่อนครบกำหนด 30 วัน โดยระบุว่ามีพฤติการณ์พิเศษอะไร จึงทำให้ยื่นฟ้องไม่ทัน หรือถ้ามเหตุสุดวิสัยอาจยื่นหลังครบกำหนด 30 วันก็ได้
ยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยยื่นก่อนหรือหลัง 30 วันก็ได้แต่ต้องได้ความว่าไม่ได้อยู่ในประเทศไทยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่น(ไม่ต้องมีเหตุสุดวิสัยก็ยื่นได้)
ยื่นคำร้องต่อ รมว.กระทรวงการคลัง(ทั้งนี้ไม่ต้องแสดงเหตุผลต่างๆเหมือน 2 ข้อข้างต้นก็ได้
10.ศาลภาษีอากรกลางมีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร ใช้ระบบกล่าวหา และไต่สวนผสมกัน
11.หากมีปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาล
ศาลภาษีอากรกับศาลแพ่ง ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย คำสั่งให่เป็นที่สุด
ศาลภาษีอากรกับศาลปกครอง คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลคำสั่งให้เป็นที่สุด
12.จำเลยต้องยื่นคำให้การภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
13.การดำเนินคดีที่ศาลภาษีอากรกลาง โจทก์ จำเลย จะต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลอย่างไร
ยื่นบัญชีระบุพยานไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันนัดสืบพยาน กรณีไม่มีการชี้สอง สถาน
ยื่นบัญชีระบุพยาน ไม่น้อยกว่า 30 วัน ก่อนวันนัดชี้สองสถาน
14.การยื่นต้อนฉบับเอกสารและพยานวัตถุต้องยื่นพร้อมกับบัญชีระบุพยานจะยื่นในวันสืบพยานไม่ได้
15.ศาลภาษีอากรรับฟังเอกสารที่ scan จากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยถือเสมือนว่าเป็นต้นฉบับ
16.ในศาลภาษีอากรจะมีผู้เชี่ยวชาญพิเศษ จะมาคอยดูว่าเอกสารเกี่ยวกับภาษีอากรนั้นเป็นของจริงหรือไม่
17.ในการสืบพยาน มีการเสนอบันทึกถ้อยคำพยานเช่นเดียวกับศาล ไอพี
18.ในศาลภาษีอากรมีการบันทึกกระบวนพิจารณาเป็นวีดิโอด้วย
19.คู่ความสามารถอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลภาษีอากรได้โดยอุทธรณ์ต่อศษลฎีกาภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง เว้นแต่เป็นคดีที่ทุนทรัพย์ไม่เกินจำนวน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง(แต่ถ้าผู้พิพากษาศาลภาษีอากรอนุญาต ก็อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวได้)
อนึ่งทุนทรัพย์ให้ถือตอนยื่นฟ้อง
ข้อสอบเก่า
โจทก์เป็นเอกชนจะฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ข้อมูลเบื้องต้นที่ทนายความโจทก์ซึ่งรับว่าความจะตรวจสอบก่อน คือข้อมูลเรื่องอะไร
= เรื่องหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์
ศาลภาษีอากรกลางเป็นศาลที่อยู่ในกลุ่มของศาลยุติธรรม และเป็นศาลชั้นต้น
คดีภาษีอากรที่ผู้ถูกประเมินภาษีสามารถฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต่อศาลภาษีอากรกลางได้โดยไม่ต้องมีการอุทธรณ์นั้นคือ คดีตาม พรบ.ศุลกากร


ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
1.คำว่าเด็กและเยาวชน ให้ยึดตาม พรบ.จัดตั้งศาลเยาวชนฯและการนับอายุให้นับในขณะที่กระทำความผิด
เด็ก หมายถึง บุคคลอายุเกิน 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์
เยาวชน หมายถึง บุคคลอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี
2.เขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวฯจะพิจารณา 2 เรื่องคือ
1.คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดและมีการฟ้องคดี
2.คดีแพ่งที่ฟ้องหรือมีคำร้องขอ อันเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวที่ต้องบังคับตาม ปพพ.
3.ในคดีอาญาห้ามจับเด็กเว้นแต่
เป็นการกระทำผิดซึ่งหน้า หรือ
มีผู้เสียหายชี้ตัวและยืนยันให้จับ หรือ
มีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าได้มีการร้องทุกข์ไว้แล้ว หรือ
มีหมายจับตาม ป.วิ อาญา
4.สำหรับการจับเยาวชนนั้นให้เป็นไปตาม ป.วิ อาญา
5.กฎหมายกำหนดไว้ว่า เมื่อมีการจับกุมหรือควบคุมเด็กหรือเยาวชนเกิดขึ้น ให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งการจับกุมหรือควบคุมนั้นไปยังสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจโดยไม่ชักช้า เว้นแต่คดีนั้น จะมีการเปรียบเทียบปรับกันตาม ป.วิอาญา
6.พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการถามปากคำเด็กหรือเยาวชนคนั้นให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นได้เดินทางมาถึงสถานที่ที่ทำการของพนักงานสอบสวน เมื่อถามปากคำเด็กเสร็จหรือพ้นกำหนดระยะเวลา 24 ชั่วโมงแล้ว ให้พนักงานสอบสวนทำการจัดส่งตัวเด็กหรือเยาวชนให้ผู้อำนวยการสถานพินิจ เพื่อควบคุมตัวไว้หรือปล่อยตัวชั่วคราว แล้วแต่ดุลพินิจของผู้อำนวยการสถานพินิจ
7.เรื่องการปล่อยตัวชั่วคราว(การประกันตัว)
ในระหว่างที่ผู้อำนวยการสถานพินิจควบคุมเด็กหรือเยาวชนไว้ยังสถานพินิจ ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวเด็กหรือเยาวชนนั้นให้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย โดยไม่มีการประกันหรือมีหระกันก็ได้ หรือจะมอบตัวเด็กหรือเยาวชนไว้กับบุคคลหรือองค์การที่เห็นสมควรก็ได้
นอกจากนี้ บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย สามารถยื่นคำร้องต่อผู้อำนวยการสถานพินิจ เพื่อขอให้ปล่อยชั่วคราวเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดได้ทันที(โดยไม่จำเป็นต้องยื่นหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวก็ได้) เมื่อมีคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวดังกล่าว ผู้อำนวยการสถานพินิจต้องพิจารณาแล้วทำความเห็นโดยพลัน
หากเห็นสมควรก็ปล่อยชั่วคราวได้เลย
หากเห็นไม่สมควรให้ปล่อยชั่วคราว ผู้อำนวยการสถานพินิจต้องรีบส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวพร้อมทั้งความคิดเห็นไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัสหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วแต่กรณี(ขึ้นอยู่กับว่าคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลไหน)เพื่อพิจารณาสั่ง และคำสั่งดังกล่าวถือเป็นที่สุด จะอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปไม่ได้
อย่างไรก็ตามในกรณีที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัสหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือ ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดแล้ว บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย อาจยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวอีกครั้ง โดยในการยื่นคำร้องครั้งใหม่นั้นต้องระบุเหตุผลใหม่ในการขอปล่อยชั่วคราวด้วย
ในทางปฏิบัติแล้วเมื่อมีคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวส่วนใหญ่ผู้อำนวยการสถานพินิจจะอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดนั้น เว้นแต่
กรณีมีเหตุผลพิเศษเช่นเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่าทำความผิดในคดีร้ายแรง และเด็กหรือเยาวชนนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ผู้อำนวยการสถานพินิจก็อาจพิจารณาไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้
8.เมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนในคดีที่มีโทษจำคุก ไม่เกิน 6 เดือน พนักงานสอบสวนต้องรีบทำการสอบสวนและส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมความเห็นไปยังอัยการ เพื่อให้อัยการสั่งฟ้องให้ทันภายใน 30 วันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม(ไม้สามารถผัดฟ้องได้)
ห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาข้างต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
9.อำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของผู้อำนวยการสถานพินิจ
ผู้อำนวยการสถานพินิจสามารถแจ้งคาวมเห็นไปยังพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนซึ่งกระทำความผิด(ทนายความอาจเข้าไปให้ข้อมูลแก่ผู้อำนวยการสถานพินิจเพื่อให้ทำความเห็นดังกล่าวได้)แต่พนักงานอัยการจะเห็นชอบตามความเห็นนั้นหรือไม่ก็ได้ เมื่อคดีนั้นอยู่ในเงื่อนไข 3 กรณี ดังต่อไปนี้คือ
1.ปรากฎว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นได้กระทำความผิดจริง แต่เมื่อพิจารณาโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต อาชีพ ฐานะ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมของเด็กหรือเยาวชนและพฤติการณ์ต่างๆแห่งคดีแล้วเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นพลเมืองดีได้โดยไม่ต้องฟ้องและ
2.เด็กหรือเยาวชนนั้นยินยอมที่จะอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ และ
3.ความผิดที่เด็กหรือเยาวชนได้กระทำนั้นกฎหมายกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 5 ปี
ในกรณีที่พนักงานอัยการเห็นชอบที่จะไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้นตามความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจ และมีคำสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้น คำสั่งไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการนี้ถือเป็นที่สุด โดยไม่จำต้องส่งความเห็นไปให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัด ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแต่อย่างใด
หากพิจารณาบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องนี้แล้วจะเห็นเป็นทำนองว่าการที่ผู้อำนวยการสถานพินิจจะแจ้งความเห็นไปยังพนักงานอัยการว่าไม่ควรฟ้องเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดต่อพนักงานอัยการได้นั้น เด็กหรือเยาวชนนั้นจะต้องเข้าไปอยู่ในสถานพินิจด้วยอย่างไรก็ตามประเด็นนี้มีผู้เห็นว่า การที่เด็กอยู่ในความคุมประพฤติของสถานพินิจก็น่าจะถือว่าอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจแล้วไม่ใช่ว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นจะต้องเข้าไปอยู่ในสถานพินิจเลย ซึ่งถ้าตีความว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นจะต้องเข้าไปอยู่ในสถานพินิจแล้วมาตรานี้คงไม่มีที่ใช้ เพราะเด็กหรือเยาวชนคงจะไม่ยินยอมเข้าไปอยู่ในสถานพินิจ
ในทางปฏิบัติ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจะตีความอย่างกว้างว่าการอยู่ในความคุมประพฤติของสถานพินิจก็ถือว่าอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้บทบัญญัติมาตรานี้มีผลใช้ในทางปฏิบัตินั่นเอง
10.การฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิด สรุปหลักได้ดังนี้
- ถ้าถิ่นที่อยู่ปกติของเด็กหรือเยาวชน มีศาลเยาวชนและครอบครัวตั้งอยู่ แต่สถานที่ที่กระทำความผิดเกิดขึ้นนั้นไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวจะต้องฟ้องที่ศาลซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ปกติของเด็กหรือเยาวชนนั้น
- ถ้าถิ่นที่อยู่ปกติของเด็กหรือเยาวชน ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวตั้งอยู่ แต่สถานที่ที่กระทำความผิดเกิดขึ้น มีศาลเยาวชนและครอบครัวตั้งอยู่ จะต้องฟ้องที่ศาลซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
- ถ้าถิ่นที่อยู่ปกติของเด็กหรือเยาวชน รวมทั้งสถานที่ที่การกระทำความผิดเกิดขึ้นนั้น มีศาลเยาวชนและครอบครัวตั้งอยู่จะฟ้องที่ศาลซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ปกติหรือสถานที่ซึ่งความผิดเกิดขึ้นก็ได้
- ถ้าถิ่นที่อยู่ปกติของเด็กหรือเยาวชนรวมทั้งสถานที่ที่การกระทำความผิดเกิดขึ้นนั้น มีศาลเยาวชนและครอบครัวตั้งอยู่เลย จะต้องฟ้องที่ศาลจังหวัดแต่ต้องเอาวิธีพิจารณาสำหรับเด็กและเยาวชนไปใช้ในการพิจารณาคดีด้วย
11.ถ้าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดร่วมกับผู้ใหญ่ก็ให้แยกฟ้อง
12.ห้ามมิให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาในคดีซึ่งเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ต่อศาลเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการสถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ(แต่ถ้ากรณีร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไม่ต้องขออนุญาต)
ในกรณีที่ผู้อำนวยการสถานพินิจไม่อนุญาตให้ผุ้เสียหายฟ้องคดี ผู้เสียหายจะร้องต่อศาลขอให้สั่งอนุญาตก็ได้(ควรแนบคำฟ้องไปด้วย)ซึ่งศาลจะเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจมาสอบถามถึงสาเหตุในการที่ไม่อนุญาต และศาลจะสั่งอนุญาตให้ผุ้เสียหายฟ้องคดีหรือไม่ก็ได้ตามที่เห็นสมควร คำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด(ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจสั่งได้)
13.เมื่อมีการฟ้องคดีอาญา ศาลจะต้องแจ้งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจ บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือ บุคคลที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย ให้ทราบถึงวันเวลานั่งพิจารณาของศาลโดยไม่ชักช้าและหากศาลเห็นสมควรศาลจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวมานั่งฟังการพิจารณาด้วยก็ได้
14.การพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลยให้กระทำในห้องที่ไม่ใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดาแต่ถ้าไม่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ให้นัดพิจารณาคดีดังกล่าวในห้องสำหรับพิจารณาคดีธรรมดาแต่ต้องไม่ปะปนกับการพิจารณาคดีธรรมดา
15.การพิจารณาคดี ไม่ใช้วิ.อาญาแบบเคร่งครัดและให้ใช้ถ้อยคำที่จำเลยเข้าใจได้ง่าย การซักถามพยานกระทำผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์(และศาลไม่ต้องใส่ชุดครุย)
16.การดำเนินคดีจะไม่มีทนายความแต่ทนายความจะเข้ามาในรูปของที่ปรึกษากฎหมายโดยถ้าจำเลยไม่มีที่ปรึกษากฎหมาย ศาลต้องแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้ เว้นแต่เป็นกรณี ที่จำเลยไม่ต้องการและไม่ใช่เป็นกรณีที่จำเป็นแก่คดี
17.ในการพิจารณาคดีของศาล ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจทำการสืบเสาะประวัติของจำเลยเพื่อประกอบการพิจารณาได้ ถ้ารายงานการสืบเสาะเป็นผลร้ายต่อจำเลย จำเลยสามารถนำพยานเข้าสืบหักล้างได้
18.ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล หากจำเลยถูกคงบคุมตัวอยู่ จำเลยจะร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ปล่อยชั่วคราวก็ได้ หรือถ้าศาลเห็นสมควรจะสั่งเองก็ได้ ศาลจะให้กักขังแทนการเสียค่าปรับเหมือนคดีผู้ใหญ่ไม่ได้
19.ถ้าในระหว่างการพิจารณาเกิดเหตุการณ์คำนวณอายุของจำเลยผิดไปทำให้จำเลยถูกพิจารณาคดีในศาลผู้ใหญ่เช่นนี้ หากความปรากฏชัดเช่นนั้น ศาลสามารถโอนคดีไปยังศาลที่มีเขตอำนาจที่แท้จริงได้ไม่ว่าคดีจะอยู่ในศาลชั้นต้นหรือชั้นอุทธรณ์
20.พิพากษาคดีจะไม่จำคุก แต่จะใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยหรือสั่งให้ไปฝึกอบรม การอ่านคำพิพากษาให้ทำเป็นการลับเมื่ออ่านคำพิพากษาแล้วหากพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลสามารถเปลี่ยนมาตรการลงโทษได้
21.องค์คณะประกอบไปด้วย ผู้พิพากษาอาชีพ 2 ท่าน และผู้พิพากษาสมทบ 2 ท่าน(1 ใน 2 ของผู้พิพากษาสมทบอย่างน้อยต้องมีผู้หญิง 1 คน)
22.คดีแพ่งที่ฟ้องหรือมีคำร้องขออันเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัวที่ต้องบังคับตาม ปพพ.ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น ให้ข้อสังเกตง่ายๆว่าจะต้องเป็นเรื่องอันเกี่ยวข้องกับครอบครัว (บรรพ 5)ถ้าเป็นกรณีของเด็กหรือเยาวชนไปทำละเมิด เช่นนี้ไม่ต้องฟ้องที่ศาลเยาวชนและครอบครัว หรือกรณีการร้องขอให้มารดาเป็นคนสาบสูญ กรณีนี้ก็ไม่ต้องฟ้องที่ศาลเยาวชนและครอบครัว เพราะเป็นเรื่องมาตรา 61 แห่ง ปพพ.(ไม่อยู่ในบรรพ 5)หรือภรรยาร้องขอจัดการทรัพย์ของสามีซึ่งกลายเป็นผู้ไม่อยู่ หรือฟ้องผู้เยาว์ให้รับผิดในฐานะทายาทของผู้ตาย
ตัวอย่างคดีที่ใช่ ก็เช่น การฟ้องหย่า (แม้ยังไม่มีบุตร) , การฟ้องฐานผิดสัญญาหมั้น , การฟ้องบังคับตามข้อตกลงท้ายสัญญาหย่า , ฟ้องเรื่องอำนาจปกครองบุตร , ฟ้องแบ่งสินสมรส , ภรรยาฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู , การยื่นคำร้องขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ การตั้งผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาล เป็นต้น
23. กรณีที่เป็นคดีแพ่งโจทก์สามารถยื่นฟ้องคดีได้เองโดยไม่ต้องขออนุญาตใคร
24.หากมีข้อโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้ชี้ขาด แต่ถ้าข้อโต้แย้งนั้นเกิดขึ้นในศาลอุทธรณ์ ศาลจะยกคำร้องเพราะถือว่าเกินกำหนดเวลาที่จะโต้แย้งแล้ว
25.ในคดีครอบครัวองค์คณะผู้พิพากษาจะทำการไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกัน แต่ถ้าไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จก็จะทำการสืบพยานต่อไป
ถ้าเป็นคดีที่สามีภรรยาฟ้องเรียกทรัพย์สินกันเองโดยไม่มีผู้เยาว์เข้ามาเกี่ยวข้อง การไกล่เกลี่ยนั้นไม่มีผู้พิพากษาสมทบร่วมไกล่เกลี่ยก็ได้

ศาลแรงงาน1.ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล นายจ้างย่อมหมายถึงทั้ง
1.1นิติบุคคลที่เป็นนายจ้างและ
1.2ผู้แทนนิติบุคคล ซึ่งเป็นนายจ้างด้วย
ตัวอย่างเช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด I LOVE YOU มีนายเดียวเป็นนหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำสัญญาจ้างนางแก้วเป็นเลขานุการของห้างเช่นนี้นายจ้างของนางแก้วคือ1.ห้างหุ้นส่วนจำกัด I LOVE YOU และ 2. นายเดียว ต่อมานางแก้วถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ในทางปฏิบัตินางแก้วจะฟ้องห้างเป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องผู้แทนนิติบุคคลเป็นจำเลยที่ 2 อย่างไรก็ตามศาลฎีกาเคยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 นั้นไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวเพราะกระทำการแทนห้าง ฯ
2.การเลิกจ้างโดยฝ่าฝืนหลักกฎหมาย อันมีวัตถุปรระสงค์เพื่อคุ้มครองการใช้สิทธิตามกฎหมายของลูกจ้าง ใน พรบ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ลักษณะของการเลิกจ้างไมม่เป็นธรรม
1)เลิกจ้างโดยไม่มีเหตุ หรือ ไม่ปฏิบัติตามวิธีการของ ปพพ.
- ลูกจ้างไม่ได้เอาการงานของตนไปให้บุคคลภายนอกทำแทน แต่นายจ้างกลับเลิกจ้าง (ม.577)
- ลูกจ้างไม่ได้แสดงออกว่าตนมีฝีมือพิเศษแล้วกลับไร้ฝีมือ (ม.578)
- ลูกจ้างมิได้จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง หรือละเลยต่อคำสั่งนั้นเป็นอาจิณหรือละทิ้งการงานหรือกระทำความผิดอย่างร้ายแรงหรือกระทำการอย่างอื่นใดอันสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต (ม.583)
- สัญญาจ้างไม่มีกำหนดเวลาแต่นายจ้างกลับเลิกจ้างโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า (ม.582)
2)การเลิกจ้างโดยฝ่าฝืนหลักกฎหมายอันมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการใช้สิทธิตามกฎหมายของลูกจ้างใน พรบ.แรงงานสัมพันธ์ฯ
3)การเลิกจ้างโดยฝ่าฝืน พรบ.คุ้มครองแรงงาน
4)การเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร และการเลิกจ้างอันเกิดจาการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
5)การเลิกจ้างโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับของนายจ้างหรือในข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
การกระทำอันไม่เป็นธรรมจะฟ้องคดีได้ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันที่มีการฝ่าฝืน และคณะกรรมการฯจะวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งหากไม่พอใจคำวินิจฉัยสามารถนนำคดีขึ้นฟ้องต่อศาลแรงงาน(ภาษากฎหมายเรียกว่าอุทธรณ์ต่อศาลแรงงาน)โดยฟ้องคณะกรรมการฯเป็นจำเลยและอีกฝ่ายเป็นจำเลยร่วมได้โดยต้องฟ้องภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัย
หากเป็นกรณีที่นายจ้างจะอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานนายจ้างต้องนำเงินไปวางไว้ต่อพนักงานตรวจแรงงาน+ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นายจ้างจึงจะสามารถอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานได้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ฟ้องได้เลยไม่ต้องยื่นคำร้อง
การฟ้องเรื่องการกระทำไม่เป็นธรรม ต้องยื่นคำร้องก่อน
3.ถ้าคดีทีปัญหาว่าเป็นคดีแรงงานหรือไม่ ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานเป็นผู้ชี้ขาดและคำสั่งให้เป็นที่สุด
4.คำฟ้องจะต้องยื่นต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลแรงงานนั้นแต่ถ้าโจทก์ประสงค์จะฟ้องต่อศาลแรงงานที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลก็อาจทำได้ โดยแสดงให้ศาลเห็นว่าการพิจารณาคดีในศาลแรงงานนั้นเป็นการสะดวก
กฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าสถานที่ที่ลูกจ้างทำงานเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิด
กรณีที่มีการยื่นฟ้องคดีแรงงานต่อศาลจังหวัด ศาลจังหวัดจะส่งเรื่องไปที่ศาลแรงงานภาค และผู้พิพากษาศาลแรงงานภาคเท่านั้นที่มีอำนาจสั่งรับฟ้อง ส่วนการนั่งพิจารณานั้นอาจทำที่ศาลจังหวัดหรือศาลแรงงานภาคก็ได้
5.การฟ้องคดีอาจใช้วิธีแถลงข้อหาด้วยวาจาต่อศาลหรือยื่นคำฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ การร่างคำฟ้องในคดีแรงงานมีข้อแนะนำดังนี้
5.1 ฐานะโจทก์ , จำเลย
5.2 นิติสัมพันธ์
5.3 การถูกโต้แย้งสิทธิ
5.4 ความเสียหาย
5.5 คำขอ ศาลอาจพิพากษาเกินคำขอได้
อนึ่งการฟ้องคดีอาจใช้แบบพิมพ์ของคดีแพ่งทั่วไปหรือของศาลแรงงานก็ได้ (คำฟ้อง รง.1 คำร้อง รง.2)
6.คำให้การอาจยื่นเป็นหนังสือหรือให้การด้วยวาจาก็ได้ โดยจะยื่นก่อนหรือในวันนัดพิจารณาก็ได้
7.การยื่นคำฟ้องตลอดจนการดำเนินคดีในศาลคู่ความไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมใดๆ
8.ในคดีแรงงานศาลจะนัดพิจารณาโดยเร็ว(ไม่มีวันชี้สองสถาน)
ในวันนัดพิจารณาโจทก์และจำเลยต้องมาศาล ศาลจะทำการไกล่เกลี่ยให้คู่ความตกลงกันเพื่อให้ทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทด้วยดี (ถ้าไม่มีการไกล่เกลี่ยถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบ)
ถ้าตกลงกันได้ในทางปฏิบัติจะเป็นดังนี้
1)โจทก์ถอนฟ้อง
2)ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ+ศาลพิพากษาตามยอม+ทนายความยื่นคำแถลงขอออกคำบังคับ
ถ้าตกลงกันไม่ได้ ศาลจะตรวจคำฟ้อง คำให้การ และฟังคำแถลงของคู่ความ แล้วกำหนดประเด็นข้อพิพาท กำหนดหน้าที่นำสืบ กำหนดวันยื่นบัญชีระบุพยานและกำหนดวันนัดสืบพยาน
9.ในวันนัดพิจารณาครั้งแรก
-ถ้าโจทก์จำเลยไม่มาศาล ศาลสั่งจำหน่ายคดี
- ถ้าโจทก์ไม่มา ศาลสั่งจำหน่ายคดี
- ถ้าจำเลยไม่มา ศาลสั่งให้จำเลยขาดนัดและพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว
ถ้าศาลสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ โจทก์ร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายใน 7 วันับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง
ถ้าจำเลยถูกศาลสั่งว่าขาดนัดพิจารณา(ศาลพิจารณาฝ่ายเดียว)และจำเลยไม่พอใจคำพิพากษาจำเลยขอพิจารณาคดีใหม่ได้ภายใน 15วันนับแต่วันที่ศาลส่งคำบังคับ
10.การสืบพยานศาลซักถามพยานก่อน ทนายความหรือคู่ความจะซักถามพยานได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาล นอกจากนี้ศาลยังเรียกพยานมาสืบเองได้และอนุญาตให้คู่ความนำพยานที่ไม่ได้อ้างในบัญชีระบุพยานมาสืบได้ด้วย รวมทั้งศาลยังรับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนได้ด้วย
การบันทึกคำพยานศาลจะบันทึกโดยย่อก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติจะบันทึกละเอียด
11.ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พรบ.จัดตั้งศาลแรงงาน มีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
12.ศาลแรงงานกลางมีลักษณะเป็นศาลพิเศษ กำหนดวิธีพิจารณาคดีให้เป็นไปโดย
- สะดวก(ตามภูมิลำเนานายจ้างหรือลูกจ้างได้ ไม่จำเป็นต้องที่มูลคดีเกิด)
- ประหยัด(ไม่เสียค่าธรรมเนียม)
- รวดเร็ว
- เป็นธรรม โดยพิจารณาคดีแรงงานซึ่งเป็นข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง องค์คณะผู้พิพากษาจึงประกอบด้วย ผู้พิพากษา 3 ฝ่าย คือ ผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง โดยเฉพาะผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างฝ่ายลูกจ้างให้มีฝ่ายละเท่าๆกัน
13.การสั่งคำร้องศาลสั่งคนได้เพราะไม่ใช่การนั่งพิจารณา ผู้พิพากษาสมทบจึงสั่งด้วยก็ได้
14.การทำคำพิพากษาต้องทำเป็นหนังสือ ระบุเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยใช้เสียงข้างมาก
เมื่อเสร็จการพิจารณาต้องพิพากษาภายใน 3 วัน
15.ในคดีแรงงานเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลแรงงาน จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานภายใน 15 วันนับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง และเมื่อศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ฝ่ายนั้นต้องแก้อุทธรณ์ภายใน กำหนด 7 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์
16.การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการบังคับคดี เว้นแต่ศาลฎีกาจะอนุญาต
17.อายุควาในการฟ้องเรียกค่าจ้างคือ 2 ปี การฟ้องเรียกค่าชดเชย คือ 10 ปี

ข้อสอบเก่า
ค่าชดเชยตามความหมายของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541 หมายความว่า
- เงินที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีใดบ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายยแรง
- ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งขของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องเตือน
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันควร
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหหรือความผิดลหุโทษ
การเรียกร้องค้าเสียหายของลูกจ้างอันเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างมีระบุอยู่ในกฎหมายแรงงานฉบับใด
- พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
- พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
ห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า กี่ปีเป็นลูกจ้าง
- 15 ปี


คดีพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์
- เป็นการดำเนินธุรกรรมทางระบบอิเล็คทรอนิคส์การพาณิชย์ระหว่างประเทศ --สั่งซื้อสินค้า ชำระราคา ผ่านผู้ประกอบการ
- กม.ที่เกี่ยวข้อง ; กม.ธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์, กม.ลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์, กม.อาชญากรรมทางอิเล็คทรอนิกส์, กม.เกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็คทรอนิกส์, กม.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- หลักการสำคัญของกม.ธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์
1. ให้การแสดงเจตนาที่อยู่ในรูปอิเล็คทรอนิกส์ มีผลทางกม. เท่าเทียมกับที่ปรากฎในแผ่นกระดาษ
2. กำหนดหลักเกณฑ์ของลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์
3. กำหนดวิธีการยืนยันและพิสูจน์ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของลายมือชื่อกับข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์
- ข้อยกเว้นที่ไม่นำกม.นี้ไปใช้
- ธุรกรรมที่พรฎ.กำหนดมิให้นำกม.นี้ไปใช้บังคับ
- กม./กฎที่กำหนดเพื่อคุ้มครองผุ้บริโภค เช่นฉลากยา ฉลากอาหาร
- ธุรกรรมในการดำเนินงานของรัฐฯ เช่นที่ดิน
- คู่กรณีตกลงเป็นอย่างอื่น ไม่ใช้อิเล็คทรอนิคส์
- ธุรกรรมที่เป็นสื่อกลาง ผู้ให้บริการหรือเจ้าของ Sever
- ธุรกรรมก่อนพรบ.มีผลใช้บังัคบ
- สถานะทางกม.ของข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ เป้นข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้, นำกลับมาใช้ได้ และความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
- การส่งข้อมูล ถือว่า ได้ส่งข้อมูล เมื่อ ระบบข้อมูลอยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่ง
สถานที่ส่ง (เช่นเดียวกับสถานที่รับ)): สถานที่ทำการงานของผู้ส่ง
ถ้ามีหลายแห่ง --- ที่ทำการงานที่เกี่ยวกับธุรกรรมมากที่สุด
ถ้ากำหนดไม่ได้ --- ถือเอาที่ทำการงานที่เป็นสำนักงานใหญ่
ถ้ากำหนดไม่ได้ --- ถิ่นที่อยู่ปกติของผู้ส่ง
- การรับข้อมูล ถือว่าได้รับ เมื่อ ข้อมูลเข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับ
- ลายมือชื่ออิเล็คทรอนิกส์ = สัญลักษณ์
-แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับอิเล็คทรอนิกส์
-ระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้น
-แสดงว่าบุคคลยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์นั้น
- การอ้างข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐาน
-ต้องยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลว่าต้องใช้ข้อมูลอิเล็คทรอนิดส์
-ต้องยื่นคำแถลงว่าจะเสนอข้อมูลที่บันทึก/ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์
-ต้องเสนอคำรับรองของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล(ผู้ทำ,ผู้รักษา) ให้เขารับรอง.ให้ถูกต้อง
ต้องเข้าเงื่อนไขทั้งสามข้อจึงนำสืบได้ พร้อมทั้งส่งสำเนาให้คู่ความเว้นแต่คู่ความมีอยู่แล้วหรืออยู่กับบุคคลภายนอกหรือการทำสำเนาทำให้กระบวนพิจารณาล่าช้า
- การรับฟังพยานที่เป็นข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์
-บันทึก/ประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ ที่เป็นการกระทำการตามปกติ(ก่อนมีข้อพิพาท)
-บันทึก/ประมวลผลเกิดจากการทำงานของเครื่องอย่างถูกต้อง(ระบบไม่มีปัญหา ไม่เจอ Spam Virus)
-มีคำรับรองของบุคคลที่เกี่ยวข้อง/ดำเนินการ(ให้นำบุคคลมาเบิกความด้วย)
- การคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานอิเล็คทรอนิกส์ ---ต้องคัดค้าน ก่อนสืบพยานข้อมูลนั้นเสร็จ เว้น กรณีที่กม.ยกเว้นให้
-ไม่เข้าเงื่อนไขการรับฟัง (ตามข้อ 33,34 ข้อกำหนดของศาลทรัพย์สินทางปัญญา)
-ของปลอม (ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ)
-ไม่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กองมรดก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมรดก :: โดย www.meechaithailand.com ...