สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา


สาระสำคัญที่ควรรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา
                          
                                     รวบรวมโดย ..สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความแห่งสภาทนายความ
       


             คดีอาญา คือ คดีที่มีการฟ้องกันเกี่ยวกับความผิด และโทษซึ่งกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายอื่นๆ ในขณะที่มีการกระทำความผิด
                       ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรค 1 บัญญัติว่า บุคคลจักต้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
                       มาตรา 18 บัญญัติว่า โทษสำหรับที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดมีดังนี้
1.  ประหารชีวิต (คือ การฉีดยา หรือสารพิษให้ตาย)
                                        2 .  จำคุก (คือ การคุมขังไว้ในเรือน     จำ การคำนวณระยะเวลาจำคุก จะนับวันเริ่มจำคุกรวมเข้าด้วย และนับเป็น 1 เดือนเต็ม โดยไม่คำนึงถึงถึงจำนวนชั่วโมงว่าต้องครบ 24 ชั่วโมง ถ้าโทษจำคุกกำหนดเป็นเดือน ให้นับ 30 วันเต็มเป็น  1 เดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ให้คิดคำนวณตามปีปฏิทิน)
                                       3 . กักขัง (คือ การกักขังไว้ในที่สถานที่กักขัง ซึ่งกำหนดไว้ซึ่งมิใช่เรือนจำสถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน)
                                       4 . ปรับ (คือการที่จำเลยต้องชำระเงินตามจำนวนตามที่ศาลพิพากษา หากไม่ชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา จำเลยอาจถูกยึดทรัพย์สินใช้แทนค่าปรับ หรืออาจถูกกักขังแทนค่าปรับ โดยถืออัตราค่าปรับ 200 บาท ต่อการกักขัง 1 วัน ถ้าจำเลยเคยถูกควบคุมตัวมาก่อนไม่ว่าจะเป็นชั้นพนักงานสอบสวน ชั้นอัยการ หรือชั้นศาล ศาลจะนำวันที่ถูกควบคุมตัวนั้นมาคิดหักวันขังให้ด้วยหรือจำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอทำงานสาธารณประโยชน์ หรืองานบริการสังคม แทนการชำระค่าปรับก็ได้ ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาต ศาลจะต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานที่จะถือว่าเป็น 1 วันทำงานไว้ด้วย
                                             การกักขังแทนค่าปรับนี้  กฎหมายห้ามมิให้กักขังแทนค่าปรับเกิน 1 ปี เว้นแต่คำพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาท สามารถกักขังแทนค่าปรับเกิน 1 ปีได้ แต่ต้องไม่เกิน 2 ปี)
                                     5 . ริบทรัพย์สิน (คือ ทรัพย์ที่ผู้นั้นได้ใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจสั่งริบ เว้นแต่ทรัพย์นั้นเป็นทรัพย์สินของผู้อื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดด้วย เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเพื่อขอคืนทรัพย์สินของตนไว้)
               แต่การที่เอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าผู้นั้นได้กระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และบุคคลจักต้องรับโทษทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนาเว้นแต่จะเข้าเหตุยกเว้นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
            หรืออาจกล่าวได้ว่า คดีอาญา เป็นเรื่องที่ฟ้องเพื่อเอาผิดกับบุคคลที่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำนั้น บัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ให้มารับโทษ และโทษจะสิ้นสุดลงเมื่อผู้นั้นตาย โดยผู้ฟ้องจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าผู้กระทำนั้นมีเจตนาประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลจากการกระทำการอันกฎหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดนั้น ศาลจึงจะลงโทษผู้นั้นได้ และโทษที่จะลงนั้น ต้องเป็นโทษที่กฎหมายที่ใช้ในขณะที่มีการกระทำความผิดนั้นกำหนดไว้ด้วย(มีต่อนะครับ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กองมรดก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมรดก :: โดย www.meechaithailand.com ...