วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทคนิคการเขียนคำฟ้องแพ่ง และอาญา


เทคนิคการเขียนคำฟ้องแพ่ง และอาญา

สรุปหลักเกณฑ์เบื้องต้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการทำคำฟ้อง คำร้อง คำขอ คำแถลง หนังสือทวงถาม และ สัญญาต่าง ๆ
                   รวบรวมข้อมูลจากสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความสภาทนายความ



การทำคำฟ้อง และ คำขอท้ายฟ้อง
คำฟ้องคดีแพ่ง


ส่วนที่ 1 บรรยายสถานะของโจทก์ รวมทั้งการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี (ถ้ามี)
กรณีเป็นนิติบุคคลต้องบรรยาย ว่า จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทอะไร ที่ไหน มีใครเป็นผู้มีอำนาจ อำนาจกรรมการมีอย่างไร วัตถุประสงค์ทำอะไร โดยต้องอ้างเอกสารทางทะเบียนเป็นเอกสารท้ายคำฟ้องด้วย
แต่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ต้องบรรยาย เว้นแต่เป็นการกระทำแทนในกรณีที่คู่ความบกพร่องเรื่องความสามารถ หรือ มีการมอบอำนาจ ก็ต้องบรรยายไว้ด้วยว่า ใครกระทำการแทนใคร เพราะอะไร หรือรับมอบอำนาจจากใคร โดยต้องอ้างเอกสารที่มานั้น ๆ เป็นเอกสารท้ายคำฟ้องด้วย
บรรยายสถานะของจำเลย (เป็นนิติบุคคลต้องบรรยาย ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ต้องบรรยาย เช่นเดียวกับที่กล่าวข้างต้นแล้ว)

ส่วนที่ 2 บรรยายความเกี่ยวพัน หรือ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อไร ที่ไหน ทำอะไร อย่างไร มีข้อตกลงไว้อย่างไร หรือมูลเหตุแห่งคดีในกรณีละเมิด ว่าจำเลยทำอะไร หรือ ละเว้นอะไร

ส่วนที่ 3 เกิดการโต้แย้งสิทธิอย่างไร และผิดเงื่อนไขหรือข้อตกลงอย่างไร

ส่วนที่ 4 การกระทำของจำเลยนั้น ทำให้โจทก์เสียหายอย่างไร จำเลยต้องรับผิดอย่างไร เท่าไร มีการบอกกล่าวทวงถามหรือไม่อย่างไร
(
กรณีให้ชำระหนี้ จะมีจำนวนเงิน 3 จำนวน คือ เงินต้น (A) , ดอกเบี้ยก่อนฟ้อง (B) และยอดเงินที่ต้องชำระตามคำฟ้อง (C) คือ ยอดเงินรวมระหว่าง A+B เราเรียกว่าทุนทรัพย์)
และคำฟ้องแพ่ง นิยมลงท้ายด้วยข้อความว่า
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยได้ จึงขอนำคดีมาฟ้องเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับจำเลยต่อไป
                                                     
                                                     ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

*********ไม่มีการลงชื่อโจทก์ หรือ ทนายความโจทก์ และผู้เรียง/พิมพ์ เนื่องจากมีคำขอท้ายฟ้อง************

คำขอท้ายฟ้อง
กรณีเป็นคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นตัวเงิน จะทำได้ 2 ลักษณะ คือ

ลักษณะที่ 1 มีการคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้อง (B) คือ คิดจากวันที่มีสิทธิ หรือ วันที่ผิดนัด จนถึงวันฟ้อง การเขียนคำท้ายคำฟ้องแพ่ง นิยมเขียนดังนี้

ข้อ 1. ให้จำเลยชำระเงินจำนวน C บาท (..............) ให้แก่โจทก์
ข้อ 2. ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ.........ต่อปี ของต้นเงินจำนวน A บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จสิ้นให้แก่โจทก์

ข้อ 3. ให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์
ลักษณะที่ 2 ไม่มีการคิดดอกเบี้ยก่อนฟ้อง การเขียนคำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง นิยมเขียนว่า

ข้อ 1. ให้จำเลยชำระเงินจำนวน A บาท (…..) ให้แก่โจทก์

ข้อ 2. ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ....ต่อปี ของต้นเงินจำนวน A บาท นับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จสิ้นให้แก่โจทก์

ข้อ 3. ให้จำเลยชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าทนายความแทนโจทก์
แต่ถ้าคดีที่ฟ้อง เป็นกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ตาม ป.พ.พ. ม.213 กำหนดว่า ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด เจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้สั่งบังคับให้บุคคลภายนอกกระทำการอันนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่ายให้ก็ได้ แต่ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ ศาลจะสั่งให้ถือเอาตามคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของลูกหนี้ก็ได้ นั้น ในคำขอท้ายฟ้องก็ต้องระบุด้วยว่า ให้จำเลยกระทำการอะไรอย่างไร ที่ไหน ภายในกำหนดเวลาเท่าใด หากจำเลยไม่ทำให้ถือเอาตามคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลยด้วย
ตอนท้ายของคำขอท้ายฟ้อง จะมีช่องว่างให้เติมจำนวนสำเนาคำฟ้อง จำนวนสำเนานี้ขึ้นอยู่กับจำนวนจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีนั้น ๆ ว่ามีจำเลยกี่คน เช่น ฟ้องจำเลย 3 คน ต้องเติมว่า 3 หรือ สาม ฉบับ
บรรทัดสุดท้ายของคำขอท้ายฟ้องที่ให้ลงลายมือชื่อโจทก์ จะลงลายมือชื่อตัวโจทก์เอง หรือ ทนายความโจทก์ก็ได้
ด้านหลังคำขอท้ายคำฟ้องแพ่ง มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้ระบุรายละเอียดของผู้เรียง
ส่วนที่ 2 ให้ระบุรายละเอียดผู้เขียนหรือพิมพ์
ให้ระบุรายละเอียดของทนายความในส่วนที่ 1 เป็นผู้เรียง หากทนายความเป็นผู้พิมพ์ หรือ เขียนเอง ให้ระบุรายละเอียดเพียงส่วนที่ 1 ส่วนเดียวแล้ว เติมคำว่า พิมพ์หรือ เขียน ไว้หลังคำว่าผู้เรียง
จึงเป็นดังนี้เป็นผู้เรียง/พิมพ์หรือ เป็นผู้เรียง/เขียนไม่จำเป็นต้องไประบุรายละเอียดของทนายความในส่วนที่ 2 ที่ให้ใส่รายละเอียดของผู้เขียนหรือพิมพ์อีก เป็นการซ้ำซ้อน เสียเวลา เพราะเป็นข้อความเดียวกัน
หากทนายความไม่ได้เป็นผู้เขียน หรือ พิมพ์เอง จึงจะใส่รายละเอียดของผู้เขียน หรือ พิมพ์ไว้ ในส่วนที่ 2 นี้และให้ผู้นั้น ลงลายมือชื่อไว้ด้วย

หมายเหตุ เวลาสอบเขียนถึงแค่ ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ส่วนต่อจากนั้นไม่ต้องเขียนแล้วสำหรับภาคทฤษฎี

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สรุปฐานะของโจทก์มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. กรณีบุคคลธรรมดามี 2 กรณี

1.1. ภรรยา/สามีเป็นคนฟ้องคดี
ข้อ 1. โจทก์เป็น (ภรรยา/สามี) โดยชอบด้วยกฎหมายของ (ชื่อภรรยา/สามี) ผู้ตายโดยจดทะเบียนสมรสกันที่สำนักงาน...............จังหวัด............. เมื่อวันที่.....เดือน......พ.ศ.........รายละเอียดปรากฎตามสำเนาใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...
1.2.
บุตรเป็นคนฟ้องคดี
ข้อ 1. โจทก์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนาย................และนาง....................ปรากฏตามสำเนาใบสูติบัตรของโจทก์ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข.1..นาย...........และนาง..............จดทะเบียนสมรสกันที่สำนักงาน...............จังหวัด.... เมื่อวันที่.....เดือน...พ.ศ......รายละเอียดปรากฎตามใบสำคัญการสมรส เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข.2..”

2. กรณีที่เป็นนิติบุคคล (บริษัท/หจก) จะมีหลักเกณฑ์เดียวกัน
ข้อ 1. โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภท (บริษัทจำกัด/ห้างหุ้นส่วนจำกัด) จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (ชื่อจังหวัดที่จดทะเบียนต่อท้าย) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีนาย....................เป็น(กรรมการผู้มีอำนาจ/หุ้นส่วนผู้จัดการ)มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการ..........................................รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...

3. กรณีที่มอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินคดีแทน
คดีนี้ โจทก์มอบอำนาจให้นาย....................................เป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้ รายละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...

4. กรณีโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ต้องบรรยายด้วยว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อะไร เช่น
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน..............................ปรากฏตามสำเนา..................เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...ฐานะของจำเลยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

2.กรณีบุคคลธรรมดา

จำเลย ที่ ... เป็น (ผู้ซื้อ/ผู้กู้) รายละเอียดปรากฏตามสัญญา........................ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...
จำเลย ที่ ... เป็น (ผู้ค้ำประกัน/จำนอง) รายละเอียดปรากฏตามสัญญา.................. เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...

 กรณีนิติบุคคล (ถ้าฟ้องห้างหุ้นส่วน ต้องฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นจำเลย ที่ 2 ด้วย) หลักเกณฑ์คำฟ้องเหมือนกันกับฐานะของโจทก์
ข้อ 1. จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภท (บริษัทจำกัด/ห้างหุ้นส่วนจำกัด) จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท(ชื่อจังหวัดที่จดทะเบียนต่อท้าย) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีนาย..................เป็น(กรรมการผู้มีอำนาจ/หุ้นส่วนผู้จัดการ)มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการ...รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข...
จำเลย ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับจำเลย ที่ 1 ในฐานะส่วนตัวด้วย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตัวอย่างการใช้

1.การฟ้องคดีตามสัญญาซื้อขาย

ข้อ 1.ฐานะของโจทก์ (ถ้ามี)
        ฐานะจำเลย (ถ้ามี)

ข้อ 2. วันทำสัญญา + สัญญา + การส่งมอบ เพราะสัญญาซื้อขายจะสมบูรณ์ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่มีการซื้อขายกัน
เช่น
เมื่อวันที่...(วัน/เดือน/ปี)...จำเลยได้สั่งซื้อ...(สินค้า)...ไปจากโจทก์ประเภท...(ของสินค้า........จำนวน..............ในราคา................บาท โดยต้องชำระเงินภายใน.........เดือน นับแต่วันที่ส่งมอบ (หากมีข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยที่ผิดนัด ให้เขียนลงไปด้วย เช่น หากจำเลยผิดนัดจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ....ต่อปี)
ในวันที่...(วัน/เดือน/ปี)...โจทก์ได้ส่งมอบ.............ให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว รายละเอียดปรากฏตามสำเนาใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข.3-4..”(จะต้องเขียน 2 หมายเลข)

ข้อ 3. เหตุที่ผิดนัด + การทางถาม ต้องระบุการผิดนัดและการทวงถามในข้อนี้เพราะเมื่อไม่ชำระหนี้นั้นต้องทวงถามก่อนเราจึงจะเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดี
เช่น
ข้อ 3. ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดชำระเงินค่าสินค้าในวันที่...(วัน/เดือน/ปี)...จำเลยผิดนัดไม่ชำระเงินค่าสินค้าจำนวน.................บาท ให้แก่โจทก์ โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยเพิกเฉย ในที่สุดโจทก์ได้หมอบหมายให้ทนายความมีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระเงินภายในกำหนด จำเลยได้รับแล้วเพิกเฉยอีก รายละเอียดปรากฏตามสำเนาหนังสือทวงถามและใบตอบรับของของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 5-6”

ข้อ 4. ความเสียหาย
ข้อ 4. การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าสินค้าแก่โจทก์จำนวน...........บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ......ต่อปี นับแต่วันที่......................ถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยจำนวน...........บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน........บาท (......................บาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ..........ต่อปีของต้นเงิน.............บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น

ข้อ 5. เหตุที่ขอ
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยได้ จึงนำมาฟ้องเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับจำเลยต่อไป
                                                                                                                    ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายคำฟ้อง
ข้อ 1. ให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน...............บาท (.......................บาทถ้วน)
ข้อ 2. ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ..........ต่อปีของต้นเงิน.............บาท (............บาทถ้วน) นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น
ข้อ 3. ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
++++เทคนิคการจำ เป็นหลักเกณฑ์ที่ตายตัว++++
ข้อ 1. ฐานะของโจทก์ (ถ้ามี)
การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (ถ้ามี)
ฐานะของจำเลย (ถ้ามี)
ข้อ 2. วันทำสัญญา + สัญญา + การส่งมอบ
ข้อ 3. เหตุที่ผิดนัด + การทางถาม
ข้อ 4. ความเสียหาย
-
โจทก์ไม่มีทางอื่นใดที่จะบังคับจำเลยได้ จึงนำมาฟ้องเพื่อขอบารมีศาลเป็นที่พึ่งบังคับจำเลยต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
คำขอท้ายฟ้อง
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



คดีอาญา
คำฟ้อง
ส่วนที่ 1 บรรยายสถานะของโจทก์ สถานะจำเลย (เช่นเดียวกันกับคดีแพ่ง หากเป็นนิติบุคคล หรือมีการกระทำแทน หรือ มีการมอบอำนาจ ถ้าไม่มี ข้อ 1 นี้ก็ไม่ต้องมี เริ่มคำฟ้องที่ ข้อ 2 ได้เลย)
ส่วนที่ 2 บรรยายวัน เวลาที่เกิดข้อพิพาท ระหว่างโจทก์กับจำเลยว่าเกิดข้อพิพาทเมื่อไร ที่ไหน อย่างไร โดยมีข้อความขึ้นต้นว่า
เมื่อวันที่ .........................เวลา......................จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมาย อันเป็นความผิดในทางอาญา กล่าวคือ.....
(
ระบุให้ครบตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 158(5) คือ การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ อีกทั้งบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี)
ส่วนที่ 3 บรรยายถึงการกระทำของจำเลยว่าเป็นความผิดข้อหาอะไร ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร
ส่วนที่ 4 บรรยายว่า
เหตุเกิดที่แขวง/ตำบล.............เขต/อำเภอ.............จังหวัด..........................

ส่วนที่ 5 บรรยายว่า
โจทก์ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวนที่สถานีตำรวจ............................เขต/อำเภอ..............จังหวัด.......................เมื่อวันที่ ...........................รายละเอียดปรากฏ ตามรายงานบันทึกประจำวัน ข้อ......เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข..................
(
หรือ โจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน เพราะประสงค์จะดำเนินคดีเอง)
ส่วนที่ 6 บรรยายถึงการขอนับโทษต่อ (ถ้าหากมี)
                               
                                            ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
%%%%%%%%
ไม่มีการลงชื่อโจทก์และผู้เรียง/พิมพ์ เนื่องจากมีคำขอท้ายฟ้อง%%%%%%%%
คำขอท้ายฟ้อง ตามแบบพิมพ์ศาล จะมีส่วนให้เติมข้อความ 5 ส่วน ดังนี้
ในส่วนที่ 1 (ย่อหน้าที่ 1) ให้ระบุเพียงชื่อกฎหมาย และเลขมาตรา ที่จะขอให้ศาลลงโทษ จำเลยตาม ป.วิ อาญา มาตรา 158 (6) เท่านั้น เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 เป็นต้น
ในส่วนที่ 2 (ย่อหน้าที่ 2) มีข้อความว่า ขอศาลได้ออกหมาย ให้เติมคำว่า นัด และทำเครื่องหมายตกเติมจากคำว่าจำเลยมา โดยเติมข้อความว่า ไต่สวนมูลฟ้อง ไว้ก่อนคำว่า พิจารณาพิพากษา
(
เนื่องจากคดีอาญา ถ้าผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องเอง ศาลต้องนัดทำการไต่สวนมูลฟ้อง เป็นนัดแรก ก่อนที่จะประทับรับฟ้อง ต่างกันกับกรณีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี ศาลประทับรับฟ้องได้เลย และนัดให้จำเลยให้การต่อสู้คดีและสืบพยานโจทก์เป็นนัดแรก เนื่องจากได้ผ่านการสอบสวนของพนักงานสอบสวนมาแล้ว)

ในส่วนที่ 3 เป็นรายละเอียด ข้อ 1,2,3,4 นั้น ถ้าเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษทางอาญาเพียงอย่างเดียว โดยทั่วๆ ไป ในส่วนนี้ไม่ต้องระบุอะไร

ในส่วนที่ 4 ให้เติมจำนวนสำเนาคำฟ้อง (ทำเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้ในคดีแพ่ง)

ในส่วนที่ 5 ให้ลงลายมือชื่อโจทก์ คดีอาญา ต้องเป็นตัวโจทก์ หรือผู้รับมอบอำนาจโจทก์เท่านั้น เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอท้ายฟ้องนี้ ทนายความโจทก์ลงลายมือชื่อแทนตัวโจทก์ไม่ได้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กองมรดก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมรดก :: โดย www.meechaithailand.com ...